เต้าหู้ ทำได้โดยเอาเมล็ดถั่วเหลืองที่แช่น้ำจนอิ่มตัวมาบดกับน้ำจนละเอียด กรองเอาแต่น้ำที่ได้ มาต้มแล้วนำ มาใส่สารตกตะกอนโปรตีน โปรตีนก็จะจับตัวเป็นก้อนสีขาวนวล คนจีนเรียกว่า “โดฟู” หรือ “เตาฟู” (tau fu) ซึ่ง แปลว่าถั่วเน่า จีนฮกเกี้ยนเรียกเพี้ยนเป็น “เตาฮู” ซึ่งไทยเรา เรียกตามเป็นเต้าหู้ ภาษาญี่ปุ่นเรียกเพี้ยนเป็น “เตาฟู” ซึ่งอังกฤษเรียกตามว่า TOFU ฝรั่งเศส เรียกเต้าหู้ว่า fromage de soja หรือ “ชีสถั่วเหลือง” เต้าหู้มีหลากหลายชนิด ทั้งแแข็ง และแบบอ่อน แบบทอดกับแบบไม่ทอด แบบเนื้อหยาบกับเนื้อละเอียด แบบ ฟูกับไม่ฟู เป็นต้นแต่ความแตกต่างเหล่านี้
อาจสรุปได้ง่ายๆว่าเป็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมเต้าหู้แบบจีน กับแบบญี่ปุ่น ครัวจีนใช้เต้าหู้เป็นตัวประกอบกับเครื่องปรุงอื่นๆ ในการทำอาหาร เพราะฉนั้นรสชาติของเต้าหู้จึงขึ้นกับการ ปรุงอาหารจาน นั้นๆเป็นสำคัญ แต่ครัวญี่ปุ่นเน้นจานอาหาร ที่เชิดชูเนื้อและรสชาติของเต้าหู้ ด้วยเหตุนี้ ครัวญี่ปุ่นจึงพัฒนาเต้าหู้หลากหลายชนิดที่รสชาติดี ด้วยตัวเอง เช่น เต้าหู้ขาวแข็ง (momengoshi) เต้าหู้ขาว อ่อน (silk tofu หรือ kinugoshi) เต้าหู้ปิ้ง (yaki-dofu) เต้าหู้แช่แข็ง (koya-dofu) ที่สามารถเก็บได้นาน และต้องต้ม เมื่อจะใช้และ yuba หรือแผ่นฟองเต้าหู้ เต้าหู้ทอด ซึ่งมีทั้งแผ่นบางและหนา (nama- age) เป็นต้น
ขณะที่เต้าหู้จีนมีน้อยชนิด เนื้อหยาบและแข็งกว่า สำหรับในอาหารไทยเรา สามารถแบ่งนำเต้าหู้ทั้งแบบจีนและญี่ปุ่นมาปรุงอาหารได้ โดยใช้เป็นตัวประกอบ กับ เครื่องปรุง อื่นๆ ดัง เช่น ผัดเปรี้ยวหวาน ผัดผักรวมมิตร เป็นต้น และเป็นเครื่องปรุงหลักเช่น เต้าหู้ ทอด เต้าหู้หน้าเห็ด เต้าหู้เค็ม เป็นต้น ด้วยอาหารไทยนี้สามารถนำเอาวัฒนธรรมการกินของหลายๆชาติเข้าร่วมได้อย่างกลมกลืน